Bangkok Budgeting

เปิดเผยอย่างโปร่งใส เผื่อใครๆก็มีส่วนร่วมกับงบกรุงเทพฯ ได้

เกี่ยวกับโปรเจกต์นี้

ในปัจจุบัน เราต่างใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่รายล้อมไปด้วยหลากหลายปัญหา เช่น ปัญหาขยะ น้ำเน่าเสีย ปัญหาทางเท้า หรือการจราจรติดขัด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการจัดการแก้ไข ผ่านการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน “เรา” ในฐานะประชาชนผู้จ่ายภาษี คงจะดีไม่น้อยหากสามารถเข้าไปมีส่วนในการร่วมออกแบบการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาเมืองของเราเองให้ดีขึ้นและเป็นไปอย่างที่ต้องการได้

หลายประเทศเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับงบประมาณได้ในรูปแบบที่เรียกว่า “งบประมาณแบบมีส่วนร่วม” (Participatory Budgeting) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการมีส่วนร่วมที่ให้ประชาชนในชุมชนสามารถตัดสินเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณเองได้

ทีม Punch Up & WeVis , องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศ) , Glow Story , Hand Social Enterprise , Good Society Thailand และ Social Integrity Architecture and Mechanism Design Lab จึงตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ในรูปแบบเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic Tech) เพื่อเปิดเผยข้อมูลให้ทุกคนในฐานะผู้เสียภาษี ได้เข้าถึง เข้าใจ และเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบงบประมาณของกรุงเทพฯ โดยเริ่มจากคำถามที่อาจจะคาใจหลายๆ คน ว่าตอนนี้กรุงเทพฯ วางแผนแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างไร? ใช้งบประมาณเท่าไหร่? และประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง? นอกจากนี้ เรายังมีความตั้งใจที่จะนำความคิดเห็นจากการรวบรวมในครั้งนี้ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาต่อยอดการใช้จ่ายงบประมาณให้ตรงจุดเพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ในสังคมต่อไป

โปรเจกต์นี้นับเป็นโปรเจกต์ทดลองสร้างแพลตฟอร์มรูปแบบออนไลน์ “งบประมาณแบบมีส่วนร่วม” ให้กับจังหวัด/เมืองต่างๆ ในประเทศไทย โดยเริ่มจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เป็นต้นแบบ แล้วพัฒนาไปสู่เมืองอื่น ๆ จึงอยากเชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น เริ่มต้นจากการรู้ข้อมูลการวางแผน การใช้งบประมาณของกรุงเทพฯ และเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบงบประมาณ ผ่านการแสดงความคิดเห็นเสนอโครงการกับงบประมาณในการพัฒนาเมือง

เราเชื่อว่าอย่างน้อย จุดเริ่มต้นนี้ผลักดันให้เกิดงบประมาณแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในประเทศไทยได้ !

ที่มาของข้อมูล

ทางทีมผู้พัฒนา ได้ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของกรุงเทพฯ ตามลิงก์ที่แนบไว้ แต่จากโครงสร้างของชุดข้อมูลที่ไม่ได้จัดทำในรูปแบบเดียวกันอย่างเป็นระบบ บางชุดข้อมูลเป็นไฟล์นามสกุล pdf ทำให้ทางทีมต้องมีการเรียบเรียงและตรวจสอบจากข้อมูลหลายแห่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของชุดข้อมูลได้ นอกจากนี้งบประมาณที่แสดงในเว็บไซต์ ไม่ใช่งบที่ทำการเบิกจ่ายใช้จริงๆ แต่เป็นข้อมูลตามข้อบัญญัติของแต่ละปีงบประมาณ

นโยบายการนำข้อมูลไปใช้ต่อ

ทางทีมมีความตั้งใจที่พัฒนาทุกโปรเจกต์ให้เป็น Open Source และเปิดข้อมูลเป็น Open Data ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike License คือสามารถนำไปเผยแพร่และดัดแปลงได้ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน

หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม ประสงค์แจ้งเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อความถูกต้อง หรือมีข้อเสนอแนะใดๆ สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]

อาสาสมัครร่วมพัฒนา

ออกแบบ

นัฐพล ไก่แก้ว, 

บรรณาธิการ

ประสานงานและจัดการอื่นๆ

Punch Up และ WeVis โปรเจกต์ Bangkok Budgeting ยังได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก National Endowment for Democracy (NED) และ Good Society ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในการรวมรวมข้อมูล ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์ ประสานงาน บริหารจัดการ ตลอดจนการจัด Meetup เพื่อดำเนินโครงการ

ขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล

ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช ที่ปรึกษาการพัฒนาการจัดทำแผนกรุงเทพฯ
Share

หากมีข้อสงสัยหรือคำแนะนำเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับงานนี้

ทักมาหาพวกเราได้ที่ m.me/punchupworld